สถานที่...

สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา กรมการทหารสื่อสารและสำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพฯ




วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ตำนานมวยไชยา

ป้องกันและตอบโต้ 
(ด้วยเคล็ดวิชามวยไชยา)

ตำนานมวยไชยา



                  ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ ๓  มีแม่ทัพหรือครูมวยจากวังหลวงท่านหนึ่งได้เดินทางจากพระนครหลวง  ไปพำนัก ณ เมืองไชยา  ไม่มีใครทราบชื่อและประวัติเดิมของท่าน  ชาวเมืองต่างเรียกขานท่านว่า “ท่านมา หรือ พ่อท่านมา” (เมืองไชยา เดิมเป็นเมืองหน้าด่านสุดเขตแดนใต้ของแผ่นดินสยาม)


                   ท่านมา ได้ถ่ายทอดวิชามวยแบบวังหลวงให้ไว้เป็นสมบัติแกชาวเมืองไชยา  และท่านได้บวชและได้เป็นถึงเจ้าอาวาส  วัดทุ่งจับช้าง  ปัจจุบันยังคงปรากฏสถูปบรรจุอัฐิธาตุของพ่อท่านมา (ครูมวยผู้เป็นต้นกำเนิดวิชามวยไชยา)  เหลือไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 
                   มวยไชยา  เป็นที่นิยมฝึกหัดกันสืบต่อมาในแถบภาคใต้ตั้งแต่ เมืองไชยา ขึ้นมาถึง อำเภอหลังสวน ชุมพร   ปัจจุบันเมืองไชยาเดิมตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยาและวัดทุ่งจับช้างอยู่ในเขตอำเภอพุมเรียง สุราษฏร์ธานี.




ท่าป้องกันและตอบโต้ : งัดหน้า 


        
 พนมมืองัดหน้า : ท่ากายบริหารแบบมวยไชยา เรียกว่า  “พาหุยุทธ์” เพื่อพัฒนาร่างกายให้มีขีดความสามารถในการใช้วิชามวยไชยา ได้อย่างถูกต้อง รัดกุม และใช้งานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ    
ท่างัดหน้า ก็เช่นกันเป็นท่าฝึกการยกขาเตะในแนวตรงผ่าหมาก พร้อมกับการโล้ตัวไปด้านหลัง เพื่อหลบหมัดที่ต่อยเข้ามาตรงหน้า ผู้ฝึกประจำจะเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้อง และท้องน้อย ให้แข็งแรง มีความยึดหยุ่น พร้อมกับทักษะในการทรงตัวจะดีขึ้นอีกด้วย                          
                   1.เมื่อคนร้ายตรงเข้ามาทางด้านหน้าเพื่อ จับ หรือ กอด
                   2.ให้ยกมือบังบริเวณ หน้า หรือ หน้าอก
                   3.พร้อมกันโล้ตัวไปด้านหลัง  เพื่อหลีกการจับ
                   4.และงัดเท้าข้างหนึ่งขึ้นอย่างเร็วและแรง  เตะเข้าตรงเป้ากางเกงของคนร้าย
                   5.เท้าที่เตะผ่าหมากเข้าตรงเป้า จะมีอำนาจหยุดยั้งคนร้ายได้ชั่วเวลาหนึ่ง อาจทำให้เกิดอาการจุกจนเคลื่อนที่ไม่ได้หรืออาจทรุดตัวลง มือกุมเป้าด้วยความเจ็บปวด ช่วงเวลานี้คุณควรวิ่งไปในทิศที่ทางปลอดภัย และร้องขอความช่วยเหลือ.




     โดย   ศักย์ภูมิ  จูฑะพงศ์ธรรม

   * add - Free Magazine ฉบับ 59  
      ประจำเดือน มกราคม 2554

1 ความคิดเห็น: